Server Infrastructure


Server


Tower-Type Server : เป็นเซิร์ฟเวอร์ที่มีลักษณะเป็นเครื่องแนวตั้ง มีลักษณะคล้ายกับ Desktop PC ที่วางตาม Office ทั่วๆ ไป เหมาะกับสถานที่ที่ไม่มีตู้ Rack ของ Server โดยเฉพาะ เป็นตัวเลือกที่ยอดเยี่ยมสำหรับสำนักงาน/สำนักงานสาขา ขนาดเล็กและขนาดกลาง หรือโฮมออฟฟิศ และ Server ชนิดนี้จะมีราคาถูกกว่า Server ชนิดอื่นๆ ที่มี Specification เทียบเท่ากัน

Tower-Type Server

Rackmount-Type Server: เป็น Server ที่ถูกออกแบบให้นำไปติดตั้งไว้ในตู้ Rack ได้ เพื่อประหยัดพื้นที่ในการจัดวาง และเป็นระเบียบเรียบร้อย เหมาะสำหรับงานศูนย์ Data Center

Storage


Network Attach Storage (NAS) : เป็น Storage ทำงานเสมือนเป็น Server ตัวหนึ่งที่เชื่อมต่อเข้ากับ Network ผ่านเครือข่าย LAN Switch เหมือน Server ทั่วไป และยังสามารถเชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายไร้สาย Wi-Fi ได้ด้วย Storage ชนิดนี้มักถูกนำไปใช้เป็น File Server เพื่อแชร์ไฟล์ข้อมูลต่างๆผ่านระบบเครือข่ายให้กับผู้ใช้งาน หรือเป็นที่เก็บข้อมูลของ Application ที่ไม่ต้องการ I/O สูง

ประเภทของงานที่เหมาะกับการเลือกใช้ NAS คือ

  • การจัดเก็บข้อมูลสำรอง (Backup Data)
  • งานระบบกล้องโทรทัศน์วงจรปิด (CCTV)
  • การแชร์ไฟล์ข้อมูล (File Server)

Storage Area Network (SAN) : เป็น Storage ที่มี Performance เหนือกว่า NAS และสามารถขยายพื้นที่ในการจัดเก็บข้อมูลได้มากกว่า SAN จะถูกเชื่อมต่อกับ Server ได้หลายๆเครื่อง ผ่านเครือข่าย SAN Switch ซึ่งแยกเป็นคนละ เครือข่ายกับ LAN ซึ่งโดยทั่วไป SAN ใช้ Interface แบบ Fiber Channel (FC) ซึ่งมีความเร็วสูง ทำให้สามารถรับส่งข้อมูลได้เร็ว และมีประสิทธิภาพสูงกว่า เหมาะสำหรับ Application ที่มีต้องการความพร้อมใช้ น่าเชื่อถือและประสิทธิภาพสูง

ประเภทของงานที่เหมาะกับการเลือกใช้ SAN คือ
  • การประมวลผลประสิทธิภาพสูง High Performance Computing
  • จัดเก็บฐานข้อมูล Database ที่มีขนาดใหญ่ และซับซ้อน
  • การจัดทำ Virtualization / Cloud Data Center
  • การตัดต่อวิดีโอ Video Editing
SAN

Tape Cartridge : เป็นการเก็บข้อมูลในรูปแบบของม้วนเทป ซึ่งอาศัย Tape Drive หรือ Tape Library ซึ่งควบคุมการทำงานโดย Backup Server เป็นตัวเขียน และอ่านข้อมูล การเก็บข้อมูลในลักษณะนี้เหมาะสำหรับการ Backup ข้อมูลที่มีขนาดไม่ใหญ่มากนัก อัตราการเขียน และอ่านข้อมูลจะช้ากว่า Storage ชนิดอื่น แต่การจัดเก็บข้อมูลในรูปแบบของม้วนเทปแบบดั้งเดิมยังคงเป็นที่ต้องการอย่างมาก เนื่องจากเป็นวิธีการที่ประหยัดและปลอดภัยเพื่อปกป้องและรักษาข้อมูลที่คุณเข้าถึงไม่บ่อย แต่จำเป็นในระยะยาว ตอบสนองความต้องการในการเก็บรักษา และการปฏิบัติตามข้อกำหนดที่ต้องมีการสำรองข้อมูลแบบ Off-Site ก็สามารถทำได้ง่าย

VMWare


Virtualization Technology เป็นเทคโนโลยีที่จำลองเครื่องคอมพิวเตอร์ หรือ virtual machine ขึ้นมาทั้งเครื่องภายใต้ hardware ชุดเดียวกัน ด้วยเทคนิคนี้ทำให้เครื่อง Server เครื่องเดียวสามารถทำตัวได้เหมือนกับมีคอมพิวเตอร์หลายๆ เครื่องทำงานขนานกันไป และอนุญาตให้ทำการรันระบบปฏิบัติการหลายๆ ระบบได้พร้อมกัน และมีความเป็นอิสระไม่ขึ้นอยู่กับเครื่อง server จริงแม้ว่าจะเป็นคนละPlatform กันก็ตาม ซึ่งจะช่วยให้องค์กรสามารถใช้ทรัพยากรของเครื่อง server ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ โดยจะเป็นการแชร์ Resource ต่างๆ ของเครื่องหลัก เช่น CPU, Memory, Hard Disk และอื่นๆ ของเครื่อง server 1 เครื่องหรือมากกว่านั้น ให้สามารถติดตั้งระบบปฏิบัติการ (Operating System), Software และ Application ได้จำนวนมาก และยังสามารถทำงานพร้อมกันได้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้งาน platform เดียวกันหรือคนละ Platform กันก็ตาม

Traditional Server Architecture VS. Virtualized Server Architecture
ประโยชน์ของ Virtualization
  • ลดต้นทุนในการซื้อ Server เพราะซื้อ Server ตัวเดียวแต่สามารถลงได้หลายระบบปฏิบัติการ (OS) และยังสามารถใช้งาน Hardware ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
  • ช่วยให้มีการจัดการแบบรวมศูนย์ (Centralize Management) สามารถบริหารจัดการ server ทั้งหมดได้จากจุดเดียว
  • มีความยืดหยุ่นในการบริหารจัดการ เช่น การเพิ่ม server ใหม่ การเพิ่ม resource ให้กับ virtual server แต่ละเครื่อง หรือการยกเลิกใช้งาน server สามารถทำได้ง่ายขึ้น
  • ง่ายต่อการโอนย้ายระบบ กรณีเปลี่ยน Server การดูแลรักษา Server ได้ง่ายยิ่งขึ้น
  • ลดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการต่างๆ เช่น ค่าไฟ, ค่าดูแลรักษาอุปกรณ์
  • จากการลดค่าใช้จ่าย และแบ่ง Resource โดยอาศัย Software มาช่วย ทำให้เพิ่มประสิทธิภาพในการลงทุน รวมทั้งการบริการที่สามารถทำให้ง่ายและรวดเร็วขึ้น

Our services


1. Migrate from Bare-metal or Physical Server to Virtualization วิธีนี้จะเรียกว่า P2V ย่อมาจาก Physical to Virtual โดยจะทำการติดตั้ง server virtualization ไว้ก่อน จากนั้นก็จะทำการ convert physical server ให้เป็น virtual machine และ import เข้าระบบ virtualization

Physical to Virtual Migration

2. Migrate from existing version to new version and hardware วิธีนี้จะเป็นการ Migrate version ไปยัง hardware ชุดใหม่ นั่นหมายความว่าลูกค้าจะต้องใช้ server virtualization อยู่ก่อนแล้ว โดยจะทำการ Migrate จาก version เดิมไปเป็น version ใหม่บน hardware ชุดใหม่

Virtual to Virtual Migration

3. Upgrade from existing version to existing Hardware วิธีนี้จะเป็นการ upgrade version จาก version เดิมที่ลูกค้าใช้งานอยู่ ไปเป็น version ใหม่ บน hardware ชุดเดิม ซึ่ง version ที่จะสามารถ upgrade ได้ จะขึ้นอยู่กับ hardware ว่าสามารถรองรับได้ที่ version ใด

Existing Upgrade

Hyper Converged Infrastructure (HCI)


Hyper-Converge Infrastructure

Hyper-Converge Infrastructure เป็นการนำเทคโนโลยี Hyper-Converged มาควบรวม IT Infrastructure ทั้ง Server Storage และ Network ไว้ในระบบเดียว สามารถรองรับการขยายได้ (Scalable) โดยใช้ Software Defined เพื่อให้ Hardware ทุกๆ เครื่องเชื่อมหากัน ทำงานได้ต่อเนื่อง หากระบบใดมีปัญหา ระบบอื่นสามารถทำงานแทนได้

1. Physical คือ Server ที่แยกการทำงานกันอย่างชัดเจน ซึ่ง Server แต่ละเครื่อง เชื่อมต่อ Storage บน SAN หรือ NAS เดียวกัน

2. Virtual โดยการนำ Server มาลง Hypervisor แล้วติดตั้ง Guest VM เชื่อมต่อ Storage บน SAN หรือ NAS เดียวกัน

3. Software Defined Storage (SdS) โดยการนำ Server มาลง Hypervisor แล้วติดตั้ง Guest VM เชื่อมต่อ Storage บน SAN NAS หรือ DAS ซึ่ง จะช่วยลดความเสี่ยงของ Server ต่างจากเดิมที่ Storage ไปอยู่หลัง Server หากเครื่องใดเครื่องหนึ่ง Storage พังก็จะล้มทั้งระบบ คือ การนำ Server มาลง Hypervisor ตัวอย่างเช่น VMware ESXi หรือ Microsoft Hyper-V แล้วสร้าง Guest VM ขึ้นมา 1 ตัวสำหรับติดตั้ง Software จากนั้นดึง Disk จาก Server ทุกเครื่องมาทำ Storage Pool โดยใช้โปรโตคอลมาตรฐาน NFS แล้วให้ Server แต่ละเครื่องใช้งาน Storage Pool ร่วมกัน การเชื่อมต่อเป็นแบบ Server to Server อาจจะต่อกันด้วย Fiber Channel เพื่อให้ได้ความเร็ว HCI ส่วนใหญ่ใช้ Network ระดับ 10Gb เทียบได้กับ Interface transfer rate ของ Storage ได้

HCI Architectures

  • จำนวนโหนดต่ำสุด 2 – 3 โหนด (แนะนำ 3 โหนดขึ้นไป)
  • เทคโนโลยีฮาร์ดแวร์ใกล้เคียงกัน

Disk

  • Hybrid : (SSD + HDD)
  • All-Flash : SSD

Network

  • ระดับ 1GB
  • ระดับ 10GB (แนะนำ)

Data Tiering

หากทำเป็นแบบ Hybrid แบ่งการทำ Data Storage เป็น 2 Tiering คือ

  • Cache ค่า Cache มาก Performance ก็มาก โดยข้อมูลทั้งหมดจะถูกส่งไปยัง caching ของ SSD ทั้งการอ่านและการเขียน ก่อนที่จะไปเขียนลง Data Storage จริง
  • การจะจายข้อมูล HCI Data Hight Availability จะใช้วิธีการกระจายในการเขียน เช่น Data เข้ามา 1 ชุด จะทำการเขียนหลาย copy เช่น RF3 จะแบ่งการเขียนเป็น 3 ชุดกระจายไปยังโหนด ซึ่งไม่มีการทำ RAID แล้ว

การแบ่ง Network เช่น 3Gbps สำหรับ NFS , 2.5Gbps สำหรับ VM


คุณสมบัติและความสามารถที่สำคัญ

  • ทำงานร่วมกับ vSphere สร้างขึ้นจากเคอร์เนล Vsphere ซึ่งเพิ่มประสิทธิภาพข้อมูล I/O โดยตรงโดยใช้หน่วยความจำ CPU และเซิร์ฟเวอร์น้อยมาก
  • เพิ่มประสิทธิภาพแฟลช ใช้ดิสก์ SSD เพื่อแคชเซิร์ฟเวอร์ ส่งผลให้มีเวลาแฝงต่ำสำหรับการรับส่งข้อมูล I/O ของดิสก์ที่อ่าน/เขียน
  • Scale-up or Scale-out ข้อมูลและประสิทธิภาพสามารถขยายได้โดยการเพิ่มโฮสต์ในคลัสเตอร์ (Scale-out) หรือเพียงแค่เพิ่มดิสก์เพื่อขยายข้อมูล (Scale-up)
  • การขจัดข้อมูลซ้ำซ้อนและการบีบอัด สามารถลดขนาดข้อมูลได้ 7 เท่า และใช้ CPU และหน่วยความจำน้อยลง
  • ลบการเข้ารหัส เพิ่มพื้นที่จัดเก็บมากกว่า 100% ใน Network RAID
  • คุณภาพการบริการ (QOS) ควบคุม จำกัด และตรวจสอบการใช้งาน IOPS ของแต่ละ VM
  • บริการสุขภาพ vSAN สามารถตรวจสอบความเข้ากันได้ของฮาร์ดแวร์ประสิทธิภาพรายงานความจุในการจัดเก็บที่แสดงโดยตรงบนหน้า Vmware Vcenter Server
  • การเข้าถึง ISCSI สามารถเชื่อมต่อ ISCSI กับ Physical Server
  • เชื่อมต่อโดยตรง 2 โหนด โหนดที่สองสามารถเชื่อมต่อได้โดยตรงโดยไม่ต้องใช้สวิตช์ช่วยประหยัดค่าใช้จ่ายได้ถึง 20%