ความปลอดภัยที่มากยิ่งขึ้น สำหรับโซลูชัน SASE กับ Next-generation Firewall (NGFW)

ความปลอดภัยที่มากยิ่งขึ้น สำหรับโซลูชัน SASE กับ Next-generation Firewall (NGFW)

หลังจากที่แอดมินได้เขียนบทความเกี่ยวกับโซลูชัน SASE มาหลายฉบับ ผู้อ่านคงทราบกันดีอยู่แล้วว่า Firewall ถือเป็นอีกหนึ่งองค์ประกอบหลักสำหรับโซลูชันความปลอดภัยของ SASE ที่จะช่วยเสริมสร้างการทำงานภายในองค์กรของคุณให้ปลอดภัยและมีประสิทธิภาพ โดยเฉพาะส่วนการป้องกันความปลอดภัยของเครือข่ายคอมพิวเตอร์ โดย Firewall (ฟายวอลล์) สามารถตรวจสอบการส่งข้อมูลระหว่างเครือข่ายเพื่อป้องกันการเข้าถึงที่ไม่มีอำนาจหรือไม่ประสงค์ หรือรับรองว่าการส่งข้อมูลมีความปลอดภัยได้. แต่ก่อนที่แอดมินจะกล่าวถึงฟังก์ชันที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นของ Next-generation Firewall (NGFW) นั้น เรามาทำความรู้จักแรกเริ่มของ Firewall กันก่อนดีกว่าค่ะ ว่า Firewall นั้นใช้งานอย่างไรบ้าง

เดิมทีนั้น Firewall มีคุณสมบัติที่ สามารถบังคับนโยบายความปลอดภัย โดยการกำหนดกฎสำหรับการเข้าถึงเครือข่ายและบริการ สามารถป้องกันการโจมตีจากเหล่าแฮกเกอร์หรือบอท กำหนดการบล็อกและอนุญาตผ่าน IP address, พอร์ต, โพรโทคอล, แอพลิเคชัน รวมไปถึงการตรวจสอบแพ็กเก็ตข้อมูลเพื่อระบุความถูกต้องและสิ่งน่าสงสัยให้แพ็กเก็ตข้อมูลผ่านไปตามกฎและกลยุทธ์ขององค์กรนั้นๆ.

แต่ในยุคสมัยที่การแฮกข้อมูลมักมีลูกเล่นหรือความซับซ้อนมากยิ่งขึ้น Firewall จึงถูกพัฒนาคุณสมบัติหลายอย่างให้ตอบโจทย์ในการป้องกันมากขึ้น กลายเป็น Next-generation Firewall (NGFW) แต่หากขึ้นชื่อนำหน้าว่า “Next-generation” แล้วนั้น ฟังก์ชันของมันจะหลากหลายขึ้นอย่างไรได้บ้าง เราไปดูกันเลยดีกว่าค่ะ

ฟังก์ชันที่หลากหลายมากยิ่งขึ้นของ Next-generation Firewall (NGFW)

  1. Application Awareness การรู้จักแอปพลิเคชัน: Next-generation Firewall (NGFW) สามารถระบุและควบคุมแอปพลิเคชันและบริการในเครือข่ายและตรวจสอบแพ็กเกตข้อมูลอย่างละเอียดมากยิ่งขึ้น เช่น อนุญาตให้ user ใช้ Facebook แต่ไม่ให้ chat ผ่าน Facebook ได้เป็นต้น
  2. Multi-functional มากยิ่งขึ้น: : Next-generation Firewall (NGFW) สามารถตรวจจับและป้องกันการบุกรุกที่กิจกรรมที่ต้องสงสัยจาก Traffic, Signature ได้ สามารถถอดรหัสและตรวจสอบการส่งข้อมูลที่เข้ารหัส ทั้งยังสามารถตรวจสอบเนื้อหาเชิงลึงยิ่งขึ้น มักตรวจขึ้นไปได้ถึง Application Layer และยังรวมความสามารถในการตรวจจับและป้องกันการโจมตีทางเครือข่าย ได้ทั้งรูปแบบที่รู้จักและไม่รู้จัก (Threat Intelligence) โดยการวิเคราะห์การส่งข้อมูลในเครือข่ายเพื่อตรวจจับรูปแบบและพฤติกรรมที่เป็นอันตราย
  3. Intrusion Prevention System (IPS):  Next-generation Firewall (NGFW) มี IPS สามารถ Blacklist การโจมตีต่าง ๆ จากแหล่งที่เป็นอันตราย โดยการระงับ IP หรือ Package อัตโนมัติเพื่อเสริมความปลอดภัยจากสิ่งผิดปกติ
  4. รักษาความเร็วของเครือข่ายเดิมได้: Next-generation Firewall (NGFW) สามารถรักษา Throughput ได้ใกล้เคียงสถานะปกติได้เป็นอย่างดี และลดการใช้ Bandwidth ของทราฟิกที่ไม่มีประโยชน์ได้ดีอีกด้วย

อย่างไรก็ตามการใช้ Next-generation Firewall (NGFW) ก็เป็นเพียงอีกองค์ประกอบและอีกช่องทางสำหรับการป้องกันแฮกเกอร์ การใช้ Next-generation Firewall (NGFW) ร่วมกับบริกาอย่างตัวอื่นๆ เช่น SD-WAN, Zero Trust, Secure Web Gateway, Firewall, Cloud access security broker เกิดเป็นโซลูชัน SASE อาจทำให้คุณอุ่นใจมากยิ่งขึ้นจากการโจมตีในหลากหลายช่องทางมากยิ่งขึ้น

หากคุณผู้อ่านกังวลใจว่าโซลูชันเหล่านี้จะเป็นสิ่งที่เข้าใจยากหรือไม่รู้ว่าควรจะเริ่มต้นจากตรงไหนดี การปรึกษากับบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญหรือให้บริการด้านโซลูชันความปลอดภัย แอดมินคิดว่าคุ้มค่าไม่น้อยเลยทีเดียวค่ะเมื่อต้องตระหนักถึงผลกระทบมหาศาลที่เกิดขึ้นกับธุรกิจ ตั้งแต่ข้อมูลการเงิน ข้อมูลเชิงลึกของสินค้าและการผลิต ไปจนถึงข้อมูลของผู้ใช้งานเป็นต้น

ติดต่อสอบถาม Netmarks ได้ที่

Website Contact Us : https://www.netmarks.co.th/contact-us

E-mail: marketing@netmarks.co.th

Facebook: Netmark Thailand

Line OA : @netmarksth

Tel: 0-2726-9600

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.cyfence.com

Similar Posts