ทำงานที่ไหนก็ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น Zero Trust โมเดลความปลอดภัยที่องค์กรควรมี

ทำงานที่ไหนก็ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น Zero Trust โมเดลความปลอดภัยที่องค์กรควรมี

สายไอทีหรือเทคโนโลยีหลายๆท่าน อาจเคยได้ยินชื่อโมเดลตัวหนึ่ง Zero Trust แล้วทราบหรือไม่ว่าในยุคสมัยที่มีการทำงานผ่านทางไกล ใครๆทำงานจากที่ไหนก็ได้แบบในปัจจุบันนี้นั้น ถ้าจะให้เกิดความปลอดภัยในตัวข้อมูลที่เราเข้าถึงได้และมีอยู่ เจ้าตัว Zero Trust ถือเป็นแนวคิดที่สำคัญในการรักษาความปลอดภัยสำหรับข้อมูลของคุณได้อย่างดีเลยทีเดียวค่ะ ทั้งยังเป็นอีกหนึ่งโมเดลสำคัญสำหรับโซลูชันรักษาความปลอดภัยบน cloud อย่าง SASE อีกด้วย แล้วถ้าจะให้เจาะแค่ Zero Trust ว่าเจ้าตัวนี้คืออะไร สำคัญกับการปกป้องข้อมูลของคุณและเอื้อต่อความสะดวกสำหรับการทำงานทางไกลได้อย่างไร บทความนี้แอดมินเลยจะพาผู้อ่านทุกท่านมาหาคำตอบกันค่ะ  

Zero Trust เป็นแนวคิดและโมเดลทางความมั่นคงและปลอดภัยที่มีหลักการตามชื่อของมันเลยค่ะคือ Never trust, Always verify” ซึ่งหมายความว่าในระบบ Zero Trust คุณไม่ควรวางใจใด ๆ จากระบบหรือผู้ใช้ในเครือข่าย ไม่ว่าจะอยู่ภายในหรือภายนอกองค์กรก็ตาม ควรตรวจสอบและยืนยันทุกรายการ รวมไปถึงทุกกิจกรรมก่อนที่จะไว้วางใจ  

Zero Trust สามารถทำให้คุณหรือองค์กรทำงานจากทางไกลได้อย่างสบายใจ เพราะแนวคิดหรือโมเดลแบบเจ้าตัว Zero Trust นั้นมีความได้เปรียบเหนือแนวคิดดั่งเดิม อย่าง Secure perimeter ซึ่งทำแค่เพียงตรวจสอบและยืนยันตัวตนก่อนอนุญาตให้ผู้ใช้หรืออุปกรณ์เข้ามาภายในระบบ หากแต่ Zero trust ยังทำมากกว่านั้นอีกค่ะ เรามาดูสิ่งที่ Zero trust ทำ เพื่อรักษาความมั่นคงปลอดภัย ว่าใช้หลักการอะไรบ้าง 

แนวคิดแบบ Zero Trust  

1. Authentication ( แนวคิด Zero Trust กับการยืนยันตัวตน ) ทำการตรวจสอบและยืนยันตัวตนของผู้ใช้, อุปกรณ์ และการเข้าถึงระบบทุกรายการ โดยไม่ว่าจะอยู่ภายในหรือภายนอกเครือข่ายทั้งบุคคลกรในองค์กรและนอกองค์กร 

2. Least privilege access ( แนวคิด Zero Trust กับการเข้าถึงให้น้อยที่สุดหรือตามความจำเป็น ) ให้สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลและทรัพยากรที่จำเป็นสำหรับการทำงาน ที่พอเหมาะกับผู้ใช้ ไม่มากหรือไม่น้อยจนเกินไป หรือการตั้งขอบเขตการเข้าถึงทรัพยากรให้อยู่ในขอบเขตนั้นๆ เป็นต้น 

3. Segmentation ( แนวคิด Zero Trust กับการแบ่งเครือข่ายเป็นส่วนๆ ) ทำการแบ่งส่วนเครือข่ายเพื่อให้ระบบสามารถรักษาความปลอดภัยหรือควบคุมความเสียหายไว้ได้อย่างครอบคลุม  

4. Detection and response ( แนวคิด Zero Trust กับตรวจสอบอย่างต่อเนื่อง ) ตรวจสอบและควบคุมกิจกรรมทางความมั่นคงให้ปลอดภัยอย่างต่อเนื่อง และตรวจสอบให้แน่ใจว่าเป็นข้อมูลที่ถูกต้องและไม่ได้ถูกแก้ไขในระหว่างผู้ใช้ของเรากำลังส่งข้อมูลโต้ตอบกัน รวมถึงการปรับปรุงระดับความน่าเชื่อถือในทุกจุดทุกช่องทางที่เราสามารถทำได้ 

5. Real-time policy decision ( แนวคิด Zero Trust กับความมั่นคงปลอดภัยที่ปรับได้ ) ปรับปรุงและปรับเปลี่ยนกลยุทธ์ความมั่นคงปลอดภัยตามแต่ละสถานการณ์และเหตุการณ์ 

6. Encryption ( แนวคิด Zero Trust กับการเข้ารหัส ) ใช้การเข้ารหัสข้อมูลเพื่อรักษาความลับของข้อมูลที่ถูกส่งและข้อมูลที่ถูกเก็บ 

ประโยชน์ของ Zero Trust 

เนื่องจากโมเดลหรือแนวคิดแบบ Zero Trust สามารถรักษาความปลอดภัยแบบไร้ขอบเขตได้  ทำให้เป็นผลดีกับรูปแบบการทำงานของหลายองค์กรให้สามารถทำงานทางไกลได้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้นทุกที่ทุกเวลาโดยใช้อุปกรณ์ใดก็ได้ด้วยความเสี่ยงที่ลดลง  

ทำให้บุคคลในองค์กรมีเวลาให้ความสำคัญกับงานที่มีลำดับ และลดช่องโหว่ระหว่างกระบวนการได้ดียิ่งขึ้น ตรวจจับภัยคุกคามได้รวดเร็ว ทั้งยังทำให้องค์กรของคุณสามารถทำงานได้อย่างรวดเร็วและปลอดภัยในการรับส่งข้อมูลต่างๆจากทั้งภายในองค์กรไปสู่ระบบ cloud หรือการรับส่งจากระบบ Cloud ด้วยกันเอง  

สามารถช่วยทีมรักษาความปลอดภัยประหยัดเวลา, ลดขั้นตอนที่ยุ่งยากลง หรือช่วยลดเครื่องมือรักษาความปลอดภัยซ้ำซ้อนได้เป็นอย่างดีอีกด้วยค่ะ  

ทั้งนี้เจ้าตัว Zero Trust เป็นเพียงแนวคิดสำหรับการรักษาความปลอดภัยให้กับข้อมูลภายในองค์กรของคุณให้ปลอดภัยมากยิ่งขึ้น ในยุคสมัยของการทำงานผ่านอินเทอร์เน็ต, ไวไฟ รวมทั้งการรับส่งข้อมูลต่างๆผ่าน Cloud กลายเป็นเรื่องที่หลีกเลี่ยงได้ยาก  

ส่วนในเรื่องของวิธีการใช้และเครื่องมือสำหรับแนวคิด Zero Trust นั้น อาจแตกต่างกันไปตามรูปแบบการทำงานหรือการหยิบใช้ข้อมูลภายในองค์กร คุณผู้อ่านสามารถทำการปรึกษากับบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญและให้บริการด้านโซลูชันความปลอดภัย ว่าควรใช้แนวคิด Zero Trust ในชั้นไหนบ้างหรือใช้เครื่องมือไหนในการควบคุม ตรวจสอบ และเข้าถึงข้อมูลต่างๆที่จำเป็น เพื่อให้ครอบคลุมกับนโยบายความปลอดภัยขององค์กร และให้มั่นใจได้ว่าข้อมูลของคุณจะปลอดภัยไม่ว่าคุณจะทำงานอยู่ที่ไหนหรือเข้าใช้อุปกรณ์ใดๆนั่นเองค่ะ  

ติดต่อสอบถาม Netmarks ได้ที่ 

Website Contact Us: https://www.netmarks.co.th/contact-us 

E-mail: marketing@netmarks.co.th 

Facebook: Netmarks Thailand 

Line OA: @netmarksth 

Tel: 0-2726-9600 

ขอขอบคุณข้อมูลจาก : https://www.microsoft.com/th-th/ , https://www.cyfence.com/  

Similar Posts